ไก่ประดู่หางดำ ไก่ชนพื้นบ้าน ไก่ชนพันธุ์ไทยแท้
ไก่ประดู่หางดำ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไก่ชนพื้นบ้านของไทยที่มีลักษณะเฉพาะตัวไม่เหมือนใคร เป็นไก่ชนที่มีทักษะการต่อสู้ที่ดีเยี่ยมและเป็นไก่ชนที่มีความแข็งแกร่ง ความดุดันและจิตวิญญาณนักสู้อีกหนึ่งสายพันธุ์เลยก็ว่าได้ ไก่ประดู่หางดำเป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากในวงการไก่ชนไทย เซียนไก่ชื่อดังก็นิยมเลี้ยงไก่ชนสายพันธุ์นี้กันค่อนข้างมากเพราะเป็นไก่พื้นบ้านที่ถูกเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ในกีฬาชนไก่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำ ได้รับความนิยมตั้งแต่ระดับชาวบ้านไปจนถึงระดับชนชั้นสูง ถูกจัดอันดับเป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่คนนิยมใช้ในการแข่งขันและเลี้ยงมากที่สุดอีกสายพันธุ์หนึ่ง
สนใจอ่านวิธีลงเดิมพัน เว็บไก่ชน คลิกได้ที่นี่ !!
ทำความรู้จัก ไก่ชน 4 สายพันธุ์ประดู่หางดำ ในไทยว่ามีอะไรบ้าง ?
ไก่ไทย แท้ ประดู่หางดำ เป็นไก่ชนสายพันธุ์ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากในประเทศไทยและแถบเอเชีย ด้วยลักษณะเฉพาะตัวทั้งรูปร่างลักษณะที่สวยงาม ดูสง่าและมีทักษะการต่อสู้ที่เหนือชั้น ในปัจจุบันไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำแบ่งออกเป็นหลายสายพันธุ์ย่อย แต่ละสายพันธุ์ก็จะมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งในประเทศไทยไก่ประดู่หางดำที่สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมืองของไทยได้มีการรับรองมีทั้งหมด มี 4 ชนิด
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : สายพันธุ์ไก่ชนไทย
ไก่ประดู่หางดำ ไก่ชนพันธุ์ ประดู่มะขาม
ประดู่มะขาม มีลักษณะที่โดดเด่นอย่างเห็นได้ชัดเลย คือ มีสีขนประดู่ที่สวยงามคล้ายสีของเมล็ดมะขามคั่ว ถ้าสีแก่เรียกมะขามไหม้ จะมีลักษณะขนพื้นตัวสีดำขนปีกและขนหางมีสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีกและสร้อยหลังสีประดู่แบบเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บและเดือยมีสีน้ำตาลไหม้ ตาสีไพล ขนปิดหูสีประดู่ ทำให้ได้ชื่อว่า “ประดู่มะขาม” มีนิสัยที่ดุดัน รูปร่างที่สง่างาม ไหล่กว้าง ลำตัวล่ำสัน หางยาวเป็นฟ่อน มีนิสัยดุ ร้าย กล้าหาญไม่กลัวการต่อสู้และมีความอดทนสูง
ไก่ประดู่หางดำ ไก่พันธุ์ ประดู่แสมดำมะขามไหม้
ประดู่แสมดำมะขามไหม้ ไก่พันธุ์นี้มีลักษณะเด่นคือสีขนที่เป็นเอกลักษณ์ขนลำตัวจะมีสีดำสนิท ขนปีกและหางจะเป็นสีดำเหลือบน้ำเงิน โดยเฉพาะบริเวณปลายปีกและหางจะมีสีดำมันวาวคล้ายสีของมะขามที่ไหม้เกรียม มีรูปร่างที่สง่างามไหล่กว้าง ลำตัวของไก่พันธุ์นี้จะล่ำสัน หางยาวเป็นฟ่อนและมีหัวที่เรียวเล็ก เป็นไก่ชนที่มีนิสัยดุร้ายและมีความอดทนสูงทั้งต่อสภาพแวดล้อมและอากาศได้ดี
ไก่ประดู่หางดำ ไก่พันธุ์ ประดู่แข้งเขียวตาลาย
ประดู่แข้งเขียวตาลาย จะมีลักษณะขนลำตัวสีดำสนิท ขนปีกและหางจะเป็นสีดำเหลือบน้ำเงิน ปลายปีกและหางจะมีสีดำมันวาวคล้ายสีของมะขามที่ไหม้เกรียม มีสีตาลายไม่เรียบเนียน ส่วนที่โดดเด่นคือบริเวณแข้งจะมีสีเขียวมะกอกและมีลายจุดสีขาวคล้ายตาทาโร่จะแตกต่างจากไก่ชนประดู่หางดำสายพันธุ์อื่นที่มักจะมีสีแข้งสีน้ำตาลหรือสีเหลือง นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างลำตัวที่ใหญ่ แข็งแรงและมีกล้ามเนื้อแน่นหนาทำให้ได้เปรียบในสังเวียนพอสมควร ขาและแข้งที่แข็งแรง ลำตัวของไก่สายพันธุ์นี้มักมีขนาดกลางถึงใหญ่ทำให้มีพละกำลังในการต่อสู้มากขึ้นอีกทั้งยังทนทานต่อการโจมตีของคู่ต่อสู้ได้เป็นอย่างดี มีนิสัยดุดันไม่ยอมแพ้ง่ายชอบการต่อสู้ สังเกตและตอบสนองต่อการโจมตีของคู่ต่อสู้ได้อย่างรวดเร็ว
ไก่ประดู่หางดำ ไก่พันธุ์ ประดู่แดง
ประดู่แดง สีขนของไก่ตัวผู้จะมีสีแดงเข้มแซมดำบริเวณลำตัว ส่วนหางและขนบริเวณปลายปีกจะมีสีดำเข้ม ขณะที่ตัวเมียจะมีสีขนที่อ่อนกว่ามีสีแดงผสมกับสีดำในบางส่วน ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีน้ำตาล ตาสีแดงลักษณะหางของไก่ประดู่แดงเป็นสีดำสนิทและยาวมีความแข็งแรงและเป็นทรงพุ่งขึ้น มีโครงสร้างลำตัวขนาดกลางถึงใหญ่ แข็งแรงและมีกล้ามเนื้อที่แน่นหนา กระดูกใหญ่และแข็งแรงทำให้ไก่สามารถต้านทานการโจมตีจากคู่ต่อสู้ได้ดี ไก่ชนสายพันธุ์นี้มักไม่ถอยหากเผชิญกับคู่ต่อสู้ที่แข็งแกร่ง นิสัยดุดันมักจะมีจังหวะการโจมตีที่รวดเร็ว
ลักษณะไก่ประดู่หางดำ จุดสังเกตลักษณะเด่น ของไก่สายพันธุ์นี้
ไก่ไทย แท้ ประดู่หางดำ เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไก่ชนพื้นบ้านของไทยมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวที่บ่งบอกถึงความแข็งแกร่ง ความสง่างามและทักษะการต่อสู้ที่ดีเยี่ยม
- ปาก : มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้างระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
- ตาและหัว : หัวของไก่ประดู่หางดำมักจะมีขนาดใหญ่และตาที่แหลมคม ตาของไก่สายพันธุ์นี้มักมีสีแดงหรือสีส้มเข้มสีประดู่หรือแดงอมม่วงหรือตาออกสีดำ
- หงอน : หงอนหินไม่มีจักเลย
- สร้อยคอ : มีสร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น
- สีขนประดู่หางดำ : ขนลำตัวลำตัวจะเป็นสีประดู่เข้ม ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างสีน้ำตาลแดงและสีดำขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่ สีขนของไก่ตัวผู้มักจะมีความเงางามและสดใสกว่าไก่ตัวเมีย ขนที่หนาช่วยป้องกันการโจมตีจากคู่ต่อสู้และลดความเสียหายต่อร่างกายได้ดี
- หางดำยาวและแข็งแรง : หางของไก่ประดู่หางดำเป็นสีดำสนิท ยาว และแข็งแรง หางนี้มักมีลักษณะตั้งตรงและพุ่งสูง ไก่ชนที่มีหางยาวและแข็งแรงมักมีการทรงตัวที่ดีและสามารถใช้หางในการควบคุมทิศทางการเคลื่อนไหวขณะต่อสู้ในสนาม
- หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น
- ขาแข้ง เล็บและเดือยสีดำ
- เพศเมียมีสีเดียวกับเพศผู้แต่จะไม่มีสร้อย
วิธีเลี้ยงไก่ประดู่หางดำ
การเลี้ยงและดูแลไก่ ประดู่หางดำ อย่างถูกต้องจะช่วยให้ไก่เติบโตแข็งแรงพร้อมทั้งมีสุขภาพที่ดีและมีสามารถในการต่อสู้ในสนามได้ดี ซึ่งไก่ประดูดางหำเป็นไก่พันพื้นเมืองจึงปรับตัวกับสภาพแวดล้อมได้ดีเหมาะสมที่จะเลี้ยงในรูปแบบการเลี้ยงแบบปล่อยกึ่งอิสระ
- การเตรียมความพร้อมก่อนเลี้ยงไก่
สร้างคอกเลี้ยงให้มีขนาดเหมาะสมกับจำนวนไก่ มีหลังคาป้องกันแดดฝนและมีพื้นที่ให้ไก่ได้เดินเล่น พื้นที่โรงเรือนควรมีอัตราส่วน 1-2 ตารางเมตรต่อไก่ 1 ตัว ต้องมีการระบายอากาศที่ดีอากาศถ่ายเทสะดวกและไม่อับชื้น เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรคและปรับอุณหภูมิให้เหมาะสม พื้นโรงเรือนควรปูด้วยวัสดุที่ช่วยดูดซับความชื้น เช่น ฟางหรือขี้เลื่อยและควรทำความสะอาดเป็นประจำทุกวันเพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคต่างๆ
- อาหารและโภชนาการ
ในช่วงแรกเกิด ไก่เล็กต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูก อาหารควรเป็นประเภทอาหารผงหรือเม็ดที่ย่อยง่าย อาจให้โปรตีนจากปลาป่น ผสมกับข้าวโพดบดและถั่วเหลือง เมื่อไก่ประดู่หางดำเริ่มโตขึ้นควรเพิ่มปริมาณโปรตีนในอาหารพร้อมทั้งวิตามินและแร่ธาตุ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและพละกำลัง อาหารเสริมที่นิยมให้ได้แก่ กุ้งแห้ง ปลาป่น ถั่วและหญ้าสดหญ้าเนเปียร์ แหนแดง นอกจากนี้ควรมีน้ำไว้ในโรงเรือนและควรเปลี่ยนน้ำทุกวัน ถังน้ำไม่ควรโดนแสงโดยตรงเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อโรคในน้ำ ซึ่งหากอยากทำน้ำหนักไก่อาจจะต้องเสริมโปรตีนและวิตามินเยอะๆเพราะไก่บ้านทั่วไป เลี้ยง 8 เดือนถึง1 ปี น้ำหนักจะอยู่ที่ 1 กิโลกรัม แต่ไก่สายพันธุ์นี้อายุประมาณ 3 เดือนน้ำหนักก็จะอยู่ที่ 1.5 กิโลกรัม
- การดูแลสุขภาพ
ควรให้ไก่รับวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล หลอดลมอักเสบและอหิวาต์ไก่ตั้งแต่ยังเล็ก ลักษณะการกินอาหาร การขับถ่าย และการเคลื่อนไหว หากพบอาการผิดปกติ เช่น อาการซึม ไม่กินอาหาร หรือมีการไอ ควรรีบแยกตัวไก่และนำไปพบแพทย์ ควรถ่ายพยาธิอย่างสม่ำเสมอป้องกันปัญหาพยาธิในระบบทางเดินอาหาร
- การฝึกซ้อมและการออกกำลังกาย
ปล่อยไก่วิ่งในกรงสุ่มอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวันช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและปอดฝึกบินเป็นระยะๆ สร้างความแข็งแรงของปีกและกล้ามเนื้อช่วงลำตัวช่วยให้ไก่มีความว่องไวและหลบหลีกการโจมตีได้ดีขึ้น ฝึกการตีด้วยกระสอบทรายเบาๆ พัฒนาทักษะการต่อสู้และเสริมสร้างพลังการโจมตี
- การพักผ่อนและการจัดการความเครียด
ไก่ที่เครียดหรือพักผ่อนไม่เพียงพอจะส่งผลต่อความแข็งแรงและความสามารถในการต่อสู้ หลังจากการฝึกซ้อมหรือการชนควรพักเพื่อให้กล้ามเนื้อและร่างกายได้ฟื้นตัว
- การเตรียมตัวก่อนชน
การให้อาหารก่อนชนควรให้อาหารที่มีพลังงานสูงและย่อยง่าย เช่น ไข่ต้ม ข้าวสุก หรือข้าวโพดบด เพื่อเสริมสร้างพละกำลังให้ไก่ก่อนลงสนาม ตรวจเช็คสภาพร่างกายของไก่ให้แน่ใจว่าไม่มีบาดแผลหรืออาการป่วยใดๆ ตัดแต่งขนและเล็บเพื่อไม่ให้รบกวนการเคลื่อนไหวและการต่อสู้ของไก่