
ไก่ทองแดงหางดำ ไก่ชนไทยพันธุ์แท้โบราณ ในสมัยอยุธยา
ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ชนอีกหนึ่งในสายพันธุ์ที่เป็นไก่ชนไทยโบราณ ไก่สายพันธุ์นี้ได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยอยุธยาได้รับการยกย่องว่าเป็นราชันย์แห่งวงการไก่ชนเพราะเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีได้มีการจัดการชนไก่ต่อหน้าพระที่นั่งบุเรงนอง ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยังทรงพำนักอยู่ที่เมืองหงสาวดี พระองค์ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระน้องยาเธอพระเอกาทศรถ นำไก่ไปร่วมชนในงานฉลองครั้งนั้น พระองค์ได้นำไก่พันธุ์ไทยแท้ทองแดงหางดำมาชนในงานครั้งนี้และได้เอาชนะไก่ชนพม่าคว้าชัยชนะมาอย่างเต็มภาคภูมิ ทำให้ในสมัยนั้นไก่พันธุ์ ทองแดงหางดำ เป็นที่นิยมในกลุ่มชนชั้นสูงรวมถึงกษัตริย์และขุนนาง
สนใจอ่านวิธีลงเดิมพัน เว็บไก่ชน คลิกได้ที่นี่ !!
ทำความรู้จัก ไก่ทองแดงหางดำ 4 สายพันธุ์ ในไทยว่ามีอะไรบ้าง ?
ไก่ชนทองแดงหางดำ เป็นไก่ชนไทยโบราณที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในเรื่องสีสันและรูปลักษณ์ที่สวยงาม หลายคนชอบไก่ชนสายพันธุ์นี้เพราะนอกจากจะสวยงามยังมีความโดดเด่นในเรื่องของความแข็งแกร่งและความว่องไวในการต่อสู้ แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่าในประเทศไทยมีไก่ทองแดงหางดำหลายทางสายพันธุ์มากกว่าที่คิด โดยในประเทศไทยมีการแบ่งไก่ทองแดงหางดำออกเป็น 4 สายพันธุ์หลักๆ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : สายพันธุ์ไก่ชนไทย
ไก่ทองแดงหางดำพันธุ์ทองแดงใหญ่
ทองแดงใหญ่ เป็นไก่ชนที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักตัวอยู่ที่ 3-5 กิโลกรัม โครงสร้างร่างกายแข็งแรงและกล้ามเนื้อชัดเจน ลำตัวหนาและกว้าง ขนของไก่ทองแดงหางดำพันธุ์ทองแดงใหญ่มีสีทองแดงเข้มสวยงาม เป็นประกายและมันวาวเมื่อโดนแสง ปากแข็ง เล็บเดือยสีเหลืองอมแดงอม ดำตาแดง หัวมีขนาดค่อนข้างใหญ่และกล้ามเนื้อคอหนา ปากแหลมและแข็งแรง ไก่ชนสายพันธุ์นี้มีนิ้วและเล็บที่แข็งแกร่งมาก เป็นอาวุธสำคัญในการโจมตีคู่ต่อสู้ในระหว่างการชน นิสัยดุดันกล้าหาญไม่ยอมแพ้ มันมีทักษะในการโจมตีโดยเฉพาะการใช้ปากและนิ้วในการต่อสู้ร่างกายทนทานต่อการบาดเจ็บ บางพื้นที่จะเรียกไก่สายพันธุ์นี้ว่า ” ไก่ทับทิม “
ไก่ทองแดงหางดำพันธุ์ทองแดงตะเภาทอง
ทองแดงตะเภาทอง มีต้นกำเนิดจากประเทศไทยในยุคอยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้น น้ำหนักของไก่ทองแดงตะเภาทองจะอยู่ที่ 2.5-4 กิโลกรัม มีขนพื้นตัวและขนสร้อยจะสีออกเหลืองส้มแบบสีทองคำแท่ง หัวของไก่ทองแดงตะเภาทองมีขนาดปานกลาง ปาก,แข้ง,เล็บและเดือยจะมีสีเหลืองอมแดงและแข็งแรงมาก ตาเหลืองอมแดง มีรูปร่างที่สมส่วน ไหล่กว้าง ลำตัวล่ำสันใบหน้ามีลักษณะกลมรีคล้ายหน้านกเหยี่ยวดวงตากลมโตสีแดงก่ำ นิสัยดุดันไม่ยอมแพ้มักใช้ปากและเล็บในการโจมตีคู่ต่อสู้
ไก่ทองแดงหางดำพันธุ์ทองแดงแข้งเขียวตาลาย
ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ไก่ทองแดงหางดำพันธุ์นี้เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อให้ได้ลักษณะที่พิเศษ มีขนาดร่างกายปานกลางถึงใหญ่น้ำหนักอยู่ที่ 2.5-3.5 กิโลกรัม ไก่พันธุ์นี้จะมีขนพื้นตัวขนสร้อยจะสีเข้มอมดำคล้าย ๆ พันธุ์ทองแดงใหญ่แต่ปาก,แข้ง,เล็บและเดือยจะมีสีเขียวอมดำ มีลายเส้นสีดำตัดกันคล้ายลายตาลาย มีแข้งสีเขียวมรกต หางมีสีดำสนิท ปลายหางมีขนเรียวยาวและแข็งแรง เคลื่อนไหวไวมักโจมตีด้วยแข้ง
ไก่ทองแดงหางดำพันธุ์ทองแดงอ่อน
ทองแดงอ่อน มีการพัฒนามาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของไก่ไทยโบราณที่มีความสามารถในการต่อสู้และมีลักษณะพิเศษ มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความแข็งแกร่งและงดงามมากยิ่งขึ้น ชื่อ “ทองแดงอ่อน” นั้นมาจากสีขนของไก่ที่มีความอ่อนของสีทองแดงหรือสีปูนแห้งสีของขนจะมีความสว่างและแวววาว โดยสีทองแดงอ่อนจะคลุมทั่วทั้งลำตัว ขนพื้นตัว ขนสร้อยจะมีสีแดงซีด ๆ แดงอ่อนๆ ปาก,แข้ง,เล็บและเดือยจะมีสีขาวอมแดงเหมือนกับตะเภาทอง มีขนาดปานกลางถึงใหญ่โครงกระดูกแข็งแรง กล้ามเนื้อหนาแน่น โดยเฉพาะบริเวณหน้าอกและขา น้ำหนักยู่ที่ 2.5-3.5 กิโลกรัม ไก่ทองแดงอ่อนมีทักษะการโจมตีที่รวดเร็วและแม่นยำ ใช้ทั้งเดือย ปาก และแข้งในการโจมตีคู่ต่อสู้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ มักใช้เดือยโจมตีได้อย่างรุนแรงทำให้คู่ต่อสู้เกิดบาดแผลรุนแรงได้ เคลื่อนไหวเร็วมีความอดทนสูง
ลักษณะไก่ทองแดงหางดำ จุดสังเกตลักษณะเด่น ของไก่สายพันธุ์นี้
ไก่ทองแดงหางดำเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไก่ชนไทยที่ได้รับความนิยมในวงการไก่ชน ด้วยลักษณะที่สวยงามแข็งแรงและมีเชิงในการต่อสู้ที่โดดเด่น ไก่ทองแดงหางดำเป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักตัวผู้อยู่ที่ 3-3.5 กิโลกรัม น้ำหนักตัวเมีย 2.5-3 กิโลกรัม ลักษณะเด่นที่สังเกตเห็นได้ชัดของไก่ทองแดงหางดำ คือ
- รูปร่างทะมัดทะแมง ทรงหัวปลีกล้วยช่วงไหล่กว้างอกเป็นมัด มีกล้ามเนื้อลำตัวยาวจับกลม 2 ท่อน ไหล่หน้าใหญ่และบั้นท้ายโต ปั้นขาใหญ่แข็งแรง หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า
- มีใบหน้าแหลมกลมอูมแบบนกกา
- มีปากใหญ่ที่แบบปากนกกา ปลายปากงองุ้มเล็กน้อยปากมีร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง สีของปากมีสีเหลืองอมแดง
- จมูกแบบราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง แคมหรือฝาปิดจมูกสีเดียวกับปาก
- บริเวณขอบตาเป็นรูปวงรี มีขอบตา 2 ชั้น มีดวงตาใสสีแดง คิ้วขอบตานูน
- หงอนมีลักษณะเป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนเรียบเป็นสีแดงสด
- ตุ้มหูรัดติดกับหูมีสีแดงเหมือนหงอน
- เหนียงรัดติดกับคาง บางตัวอาจมีเหนียงแลบออกมาเล็กน้อยมีสีแดงสดแบบหงอนและตุ้มหู
- กะโหลกใหญ่และยาวเป็น 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอบไขหัวเห็นได้ชัดเจน
- คอใหญ่และยาว โค้งไปข้างหน้าลักษณะแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดแน่นรับกับร่องไหล่ ขนคอขึ้นเป็นระเบียบสีเดียวกับขนหลังขนสร้อยคอยาวประบ่า
- ปีกใหญ่และยาวแน่นเรียงเป็นระเบียบไม่มีช่องโหว่ไขไชปีกจะมีสีดำแน่น ปีกในสีแดงเหมือนขนพื้นตัว
- ตะเกียบแข็งหนาและตรง
- หางพัดปลายมนกลมสีดำยาวไม่ต่ำกว่า 1 คืบ หางกะลวยเส้นเล็กกว่าหางพัดปลายแหลมยาว ไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต หางกะลวยดกเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า กระเบนหางใหญ่ชิดกับกระดูกสันหลัง กระปุกน้ำมันใหญ่มีอันเดียว
- ปั้นขาใหญ่มีขนสีแดงขึ้นเต็มถึงข้อขา และสีแข้งมีสีเหลืองอมแดง แข้งกลมแบบลำหวายหรือลำเทียน
- เกล็ดเป็นเกล็ดพัดใหญ่ ๆ เรียงเป็นระเบียบ 2-3 แถว สีเดียวกับแข้งมีเกล็ดสำคัญ เช่น เสือซ่อนเล็บ,เหน็บใน,ไชบาดาล,ผลาญศัตรูหรือเกล็ดอื่นๆในไก่ตัว
- มีนิ้วที่กลมยาวเรียบ เล็บและเกล็ดสีเดียวกับแข้ง มีเกล็ดนิ้วแตกเป็นเกล็ด พิฆาตเล็บเรียวแหลม จมูกเล็บแน่น
- เดือยเป็นเดือยขนเม่นหรืองาช้างจะมีสีเดียวกับแข้งและเกล็ด
- ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอลงไปถึงหน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้องจะมีสีแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้า ขนปิดหูจะมีสีแดงเป็นมัน ขนไชปีก ขนหางพัด หางกะลวยเป็นสีดำ
- ลักษณะท่าทางทะมัดทะแมง ยืนเดินวิ่งชนดูคล่องแคล่วแข็งแรง มักจะยืนกระพือปีกเมื่อพบไก่ตัวอื่นจะแสดงท่าอาการต่อสู้เสมอ เป็นไก่ชนเชิงหลัก มัด ตั้ง กอด คุมตีบน ตีเท้าบ่าเป็นส่วนใหญ่
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่ทองแดงหางดำเพศเมีย
ไก่ทองแดงหางดำเพศเมียนั้นแม้จะไม่ได้โดดเด่นเท่าตัวผู้ในเรื่องของการต่อสู้ แต่ก็มีความสวยงามและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่น่าสนใจ โดยมีลักษณะเด่นที่สังเกตได้ดังนี้
ลักษณะขน
- ขนพื้นตัวส่วนใหญ่ของลำตัว เช่น หน้าอก ใต้ปีก ท้องและก้นจะมีสีแดงสด เป็นจุดเด่นที่สวยงามของไก่เพศเมีย
- ขนคอ ขนหลัง ขนปีกมีสีแดงที่เข้มกว่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับขนพื้นตัว
- ขนสร้อยคอ: มีสีแดงเช่นกันแต่จะมีสีแดงขลิบออกมาเล็กน้อยแตกต่างกันไปตามแต่ละสายพันธุ์
- ขนปิดหูมีสีแดงสดใส
- ขนไชปีกและขนหางพัดมีสีดำสนิทตัดกับสีแดงของลำตัวได้อย่างสวยงาม
- ขนทับหางมีสีแดงเช่นกันแต่สีจะอ่อนกว่าขนพื้นตัวเล็กน้อย
ลักษณะรูปร่าง
- ไก่ทองแดงหางดำเพศเมียจะมีรูปทรงคล้ายผลกล้วย คือ ส่วนหัวจะเล็กเรียว ลำตัวกลมและท้ายจะมน
- ไหล่หน้าจะใหญ่และแข็งแรง
- กระโปรงหางจะรัดและยาวคล้ายตัวผู้
วิธีเลี้ยงไก่ทองแดงหางดำ
- การเลือกซื้อไก่
การเริ่มต้นเลี้ยงไก่ทองแดงหางดำควรเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีการตรวจสภาพร่างกายของไก่ก่อนซื้อไม่มีโรคหรือความผิดปกติ ควรสังเกตที่ตาซึ่งตาควรใสไม่มีน้ำตาหรือขี้ตา มีขนที่สวยงามไม่มีการร่วงหล่นผิดปกติ ปากควรแหลมคมไม่มีแผลหรือความผิดปกติ
- เตรียมสถานที่เลี้ยง
กรงหรือโรงเรือนควรมีพื้นที่กว้างมีการระบายอากาศดีเพื่อไม่ให้เกิดความร้อนและความชื้น มีที่หลบแดดและฝน พื้นกรงควรใช้วัสดุที่ดูดซับความชื้นได้ดี เช่น ขี้เลื่อยหรือฟาง
- อาหารและการให้อาหาร
ให้ไก่กินอาหารเม็ดสำหรับไก่ชนที่มีคุณภาพสูงตามอายุและขนาดของไก่ อาหารหลักควรให้เมล็ดข้าวโพด, ข้าวสาลี, และอาหารเม็ดที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และเพิ่มอาหารเสริม เช่น หนอน แมลง ผักใบเขียวผักบุ้งหรือกล้วย เพื่อให้ไก่ได้รับสารอาหารที่หลากหลาย โดยเฉพาะในช่วงที่จะมีการแข่งขัน ควรให้ไก่ดื่มน้ำสะอาดเสมอ
- การดูแลสุขภาพ
ควรให้วัคซีนตามโปรแกรมที่ไก่ควรได้รับเพื่อป้องกันโรคที่อาจเกิดขึ้น และนำไก่ไปตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ ทำความสะอาดโรงเรือนและกรงเพื่อไม่ให้เกิดโรค
- การฝึกซ้อม
กระตุ้นให้ไก่ได้วิ่งเล่นและกระโดดเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เตรียมพื้นที่ให้ไก่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำจะได้เตรียมพร้อมในการลงแข่ง
- ดูแลไก่ในฤดูเปลี่ยนขน
ให้อาหารที่มีโปรตีนสูงจะช่วยให้การเปลี่ยนขนงานและขนขึ้นใหม่สวยงาม
บทความที่กำลังมาแรง : ไก่ประดู่เลาหางขาว